วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ทักษะการจัดการกับอารมณ์

           อารมณ์
         อารมณ์เป็นพลังที่ทรงอำนาจอย่างหนึ่งของมนุษย์ อารมณ์อาจเป็นต้นเหตุของสงคราม อาชญากรรม ความขัดแย้งเรื่องเชื้อชาติ ละความขัดแย้ง อื่นๆ อีกหลายชนิดระหว่างมนุษย์ด้วยกัน ในทางตรงกันข้าม อารมณ์เป็นน้ำทิพย์ของชีวิต ทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง สวยสดงดงามและน่าอภิรมย์ ความรัก ความสนุกสนาน ความเพลิดเพลิน ความพอใจ หรือความตลกขบขัน ล้วนแต่ทำให้ชีวิต มีคุณค่า และความหมายทั้งสิ้น
         อารมณ์มีความสำคัญเช่นเดียวกับการจูงใจดังได้กล่าวแล้ว อารมณ์คืออะไร? อารมณ์คือ หลายสิ่งหลายอย่าง ในทัศนะหนึ่ง อารมณ์ คือ สภาวะของร่างกายซึ่งถูกยั่วยุ จนเกิดมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหลายๆ อย่าง เช่น ใจสั่น, ชีพจรเต้นเร็ว, การหายใจเร็วและแรงขึ้น, หน้าแดง เป็นต้น ในอีกทัศนะหนึ่ง อารมณ์ คือความรู้สึกซึ่งเกิดขึ้นเพียงบางส่วนจากสภาวะของร่างกายที่ถูกยั่วยุ อาจเป็นความรู้สึกพอใจ หรือไม่พอใจก็ได้ อารมณ์ยังเป็นสิ่งที่คนเราแสดงออกมาด้วยน้ำเสียง คำพูด สีหน้า หรือท่าทาง ประการสุดท้ายอารมณ์เป็นได้ทั้ง แรงจูงใจ หรือเป้าประสงค์ ถ้าเป็นอารมณ์ที่น่าพึงพอใจก็เป็นเป้าประสงค์เชิงนิยต (บวก) ถ้าไม่น่าพึงพอใจก็เป็นเป้าประสงค์เชิงนิเสธ (ลบ) ในแง่ของศัพท์บัญญัติ บางท่านใช้คำว่า "อาเวค" หรือ "ความสะเทือนใจ" แทน "อารมณ์"  แรงจูงใจและอารมณ์ มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด บ่อยครั้งความโกรธเป็นผู้เร่งเร้าพฤติกรรมทางก้าวร้าว แม้ว่าพฤติกรรมเช่นนี้ สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีความโกรธ อารมณ์สามารถกระตุ้น (activate) และชี้นำ (direct) พฤติกรรม ในทำนองเดียวกันกับ แรงจูงใจ ทางชีวภาพ หรือทางจิตใจ อารมณ์อาจเกิดร่วมกับพฤติกรรมที่ถูกจูงใจ ความรู้สึกทางเพศมิได้เป็นแต่เพียงแรงจูงใจ ที่ทรงอานุภาพเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นตอของความพอใจอย่างยิ่งด้วย อารมณ์สามารถเป็นเป้าประสงค์ เราทำกิจกรรมบางอย่าง เพราะเรารู้ว่ามันจะนำ ความพึงพอใจมาให้

อารมณ์ หมายถึง การแสดงออกของภาวะจิตใจที่ได้รับการกระทบหรือกระตุ้นให้เกิดมีการแสดงออกต่อ สิ่งที่มากระตุ้น อารมณ์สามารถจำแนกออกได้ 2 ประเภทใหญ่
  1. อารมณ์สุข คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความสบายใจ หรือ ได้รับความสมหวัง
  2. อารมณ์ทุกข์ คือ อารมณ์ที่เกิดขึ้นจากความไม่สบายใจ หรือ ได้รับความไม่สมหวัง
อารมณ์พื้นฐานของคนเรา ได้แก่ โกรธ กลัว รังเกียจ แปลกใจ ดีใจ และเสียใจ ซึ่งเป็นอารมณ์พื้นฐานที่มีในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัมพันธ์กับ การทำงานของระบบลิมบิก (limbic system)ในสมองส่วนกลาง ในคนเรานั้นพบว่ายังมีการทำงานของ สมองส่วนหน้า บริเวณ prefrontal มาเกี่ยวข้องด้วย โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบ ลิมบิกที่ซับซ้อนจึงทำให้คนเรามีลักษณะ อารมณ์ความรู้สึก ที่หลายหลากมากกว่าในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

ทักษะการสื่อสาร

        - ความหมาย: การสื่อสาร (communication) คือกระบวนการในการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคมหรือในกลุ่ม เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดเวลาระหว่างผู้เกี่ยวข้อง โดยตั้งใจ (รู้ตัว) และไม่ตั้งใจ (ไม่รู้ตัว) และโดยที่แต่ละบุคคลที่เกี่ยวข้องจะเป็นทั้งผู้ส่งสารและรับสารไปด้วยกัน และในเวลาเดียวกัน ในลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง (two-way Communication) เช่น ครูในฐานะผู้ส่งสารพูดกับนักเรียนเป็นรายบุคคล หรือกับทั้งห้อง เป็นการสื่อสารความคิดของครูแก่นักเรียน ขณะเดียวกันครูก็เป็นผู้รับสารที่นักเรียนส่งกลับมาในรูปของสีหน้า แววตา ท่าทาง หรือคำพูด ที่สะท้อนถึงความคิดและความรู้สึกของนักเรียนที่มีต่อครู ผู้สื่อสารที่ดีจึงต้องเป็นทั้งผู้ส่งสารที่ดี และผู้รับสารที่ดีในเวลาเดียวกัน
       
        - กระบวนการสื่อสาร: กระบวน การสื่อสารมีหลายรูปแบบ ที่ใช้บ่อยได้แก่การสื่อสารโดยใช้เสียง (Voice Communication) เช่น การพูด การร้องเพลง การอุทาน การพูด (Verbal Communication) เป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารโดยเสียง กระบวนการสื่อสารอีกแบบ ที่ใช้มากและสำคัญกว่าการใช้เสียงคือการสื่อสารด้วยภาษากาย (Physical or non-verbal Communication) เช่น การแสดงสีหน้า ท่าทาง การเคลื่อนไหวร่างกาย การวางระยะห่างระหว่างบุคคล เป็นต้น วิธีการสื่อสารด้วยภาษากายเหล่านี้ สามารถสะท้อนความคิดและความรู้สึกภายในของผู้ส่งสารได้อย่างเที่ยงตรงกว่า การใช้คำพูด
ในปัจจุบันมีการสื่อสารรูปแบบใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น การสื่อสารผ่านทางตัวหนังสือ (การเขียนจดหมาย เขียนข่าว หรือเขียนบทความในหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งพิมพ์ต่างๆ) การสื่อสารโดยระบบคอมพิวเตอร์ (E-mail Website เป็นต้น) อีกรูปแบบหนึ่งคือ การสื่อสารผ่านงานศิลป์ (การวาดภาพ งานปั้น และดนตรี เป็นต้น) การสื่อ สารในกลุ่มเหล่านี้ บางส่วนก็มีลักษณะเป็น one way communication เช่น การเขียนจดหมาย การเขียนบทความลงในสิ่งพิมพ์ ภาพวาด บางส่วนก็กึ่งๆ oneway และ twoway communication เช่น การสื่อสารโต้ตอบกันผ่าน website ที่แต่ละฝ่ายติดต่อกันผ่านข้อความบนหน้าคอมพิวเตอร์ โดยอาจมีภาพและเสียงประกอบ อย่างไรก็ตาม การสื่อสารในกลุ่มนี้ มีข้อจำกัดหลายอย่าง ยากต่อการสื่อความเข้าใจกันได้โดยสมบูรณ์ เมื่อเทียบกับการสื่อสารสองทางโดยการใช้เสียงและภาษากายประกอบ

        - ปัจจัยที่มีผลต่อการสื่อสาร:
           (1) ความพร้อมของผู้ส่งและผู้รับสาร : ผู้ส่งและผู้รับสารต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา
    ด้านร่างกาย ต้องพร้อม ไม่เจ็บป่วย พิการ อ่อนเพลีย หิวเกิน อิ่มเกิน สมองและระบบประสาท ทำงานเป็นปกติ เป็นต้น
    จิต ใจและอารมณ์ อยู่ในสภาวะสุขสบายตามสมควร ไม่เครียดมาก ไม่วิตกกังวล ฟุ้งซ่าน หวาดระแวง ไม่ถูกครอบงำด้วยอารมณ์ที่รุนแรง หรือด้วยความคิดที่มีอคติ (ไม่ตรงต่อความจริง)
    สังคมและสิ่งแวดล้อมควร อยู่ในสภาวะที่เอื้ออำนวย ไม่มีสภาพของความกดดันมาก
    ผู้ สื่อสารควรมีความรู้ความเข้าใจ ในวัตถุประสงค์ของการสื่อสารนั้น เข้าใจการใช้ภาษาทั้งภาษาพูด ภาษากาย เข้าใจและรู้กระบวนการสื่อสาร เป็นต้น
         (2) สภาพของสื่อ:สื่อที่ดีควรมีลักษณะง่าย สั้น ไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาและท่าทางที่เข้าใจกัน บนพื้นฐานทางสังคมประเพณี วัฒนธรรมที่คล้ายๆ กัน มีการเรียบเรียงออกมาอย่างเป็นระบบ เป็นต้น
         (3) กระบวนการสื่อสาร:สื่อไม่ว่าในรูปของเสียง คำพูด หรือภาษากาย ควรแสดงออกมาโดยชัดเจน สามารถส่ง และรับสารได้ไม่ยาก เหมาะสมกับเนื้อหา เหตุการณ์ และโอกาส เช่น พูดชัด มองเห็นได้ชัดเจน มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่สอดคล้องกัน เป็นต้น
        (4) สัมพันธภาพ:สัมพันธภาพที่ดีต่อกันเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าผู้ส่งและผู้รับสื่อมีสัมพันธภาพต่อกันโดยเหมาะสม การสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งสองก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

       -ทักษะในการสื่อสารที่ดี
         1. attending คือ การตั้งใจ ให้ความสำคัญต่อการส่งและรับสื่อ เช่น การพูดอย่างตั้งใจ การแสดงความสนใจ การสบตา การแสดงท่าที่กระตือรือร้น สนใจ เช่น การขยับตัวเข้าไปใกล้ การผงกศรีษะ แสดงความเข้าใจ เป็นต้น
         2. Paraphasing คือ การพูดทวนการสะท้อนคำพูด เป็นการแสดงความสนใจและความต้องการที่จะรู้เพิ่มเติม
         3. Reflection of feeling คือ การสะท้อนอารมณ์ที่อีกฝ่ายแสดงออกมา กลับไปให้ผู้นั้นเข้าใจอารมณ์ของตนเองมากขึ้น
         4. Summarizing คือ การสรุปความ ประเด็นที่สำคัญเป็นระยะ เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
         5. Probing คือ การซักเพิ่มเติมประเด็นที่สนใจ เพื่อหาความชัดเจนเพิ่มขึ้น
         6. Self disclosure คือ การแสดงท่าทีเปิดเผยเป็นมิตรของผู้ส่งสารโดยการแสดงความคิดเห็นหรือความ รู้สึกของตน ที่ไม่ใช่การขัดแย้ง หรือตำหนิ
         7. Interpretation คือ การอธิบายแปรความหมายในประสบการณ์ที่อีกฝ่ายแสดงออกเพื่อให้เกิดความเข้าใจ รู้ในสิ่งที่มีอยู่
นั้นมากขึ้น
        8. Confrontation คือการนำประเด็นที่ผู้ส่งสารพูดหรือแสดงออกด้วยท่าทาง ที่เกิดจากความขัดแย้ง สับสน ภายในของผู้ส่งสารเองกลับมา ให้ผู้ส่งสารได้เผชิญกับความขัดแย้ง สับสนที่มีอยู่ในตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจในตนเองเพิ่มขึ้น

       - ธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์:
    Robert E.Park ธรรมชาติในปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของมนุษย์มี 4 รูปแบบ ด้วยกัน ได้แก่
           1. การแข่งขัน (Competition)
           2. ความขัดแย้ง (Conflict)
           3. ความอารีอารอบต่อกัน (accommodation)
           4. การซึมซับ (assimilation)

    การ จัดการที่ดี โดยเทคนิคการสื่อสาร จะช่วยลดการแข่งขันและขัดแย้ง เกิดความอารีอารอบ และการยอมรับซึ่งกันและกัน เกิดสังคมที่เป็นสุข และก้าวหน้าต่อไป

การตระหนักรู้ในตนเอง

              ความสำคัญของการตระหนักรู้ในตนเอง 
          การตระหนักรู้ในตนเองเปรียบได้กับการกลับคืนสู่บ้านของมนุษย์กลับคืนสู่ธรรมชาติแห่งความจริง บ้านอันเต็มไปด้วยความความสมดุลย์ และความสงบ หรือจะเรียกว่าอิสรภาพของมนุษย์ อิสรภาพจากความเจ็บปวด ความกลัว ความเครียดของชีวิต
             การตระหนักรู้ในตนเองเปรียบได้กับการเกิดครั้งที่สอง หรือการเกิดใหม่ และทำให้มนุษย์หลุด    พ้นจากพันธนาการทั้งทางจิตใจและอารมณ์
การตระหนักรู้ในตนเองได้ถูกนำมาเรียกในหลาย ๆ ชื่อ เช่น การเกิดครั้งที่สอง การตระหนักรู้
อิสรภาพ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม การตระหนักรู้ในตนเองเป็นเป้าหมายสูงสุดของทุกศาสนาและวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของโลก
              บุคคลที่ได้รับการตระหนักรู้ในตนเองจะเป็นนายของตนเอง
เขาจะดำเนินชีวิตและใช้วัตถุที่มีในโลกเพื่อความสุขและความสะดวก ไม่ใช่เพื่อการตอบสนองความอยากได้มนุษย์จะเป็นอิสระจากความกลัว ความวิตกกังวล รวมไปถึงความเกลียดชัง หรือ ความโกรธแค้น
เขา จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขและเต็มไปด้วยบุคลิกภาพแห่งความรัก บุคคลที่ได้รับการตระหนักรู้ในตนเองจะมีความยินดีในการที่ตนเองได้ถูกเชื่อม โยงเข้ากับพลังศักดิ์สิทธิ์
             ภายหลังการตระหนักรู้
ไม่ว่าเขาหรือเธอมุ่งความสนใจไปยังสิ่งใด ๆ พลังแห่งความรักอันศักดิ์สิทธิ์ หรือพลังศักดิ์สิทธิ์จะนำปัญหานั้นออกไป และนำมาซึ่งความมหัศจรรย์ มากมายไปกว่านั้นคือ บุคคล ผู้นั้นจะได้รับการพัฒนาให้มีจิตสำนึกที่เป็นส่วนรวม นั่นคือ บุคคลนั้นจะรู้สึกได้ถึงทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับมนุษยชาติและตัวของเขาเองความรักและความเห็นอกเห็นใจจะถูกปลุกให้ตื่นขึ้น และคุณจะเข้าใจคนอื่น ๆ ได้จากพื้นฐานของคนๆ นั้น สิ่งที่ปรากฎอย่างชัดเจนคือความสวยงาม ความรัก และจิตใจกระตือรือล้นและเปิดกว้างสิ่งเหล่านี้ได้ถูกสร้างขึ้นในหมู่มนุษยชาติในรูปของพลังกุณฑาลินี 
            ความรู้เรื่องการตระหนักรู้ในตนเองเป็นความรู้โบราณ
นาน มาแล้วที่ความรู้นี้มีเพียงคนจำนวนน้อยมากที่ได้รับ ความรู้นี้ได้ถูกเก็บไว้เป็นความลับและได้รับการถ่ายทอดจากครูหรือผู้รู้ไปยังศิษย์ของตนจึงเป็นการยากมากที่เข้าใจการตระหนักรู้ในตนเอง แต่ในปัจจุบัน ความรู้นี้ได้รับถ่ายทอดผ่านทางสหจะโยคะ คำว่าสหจะหมายถึงการเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ โยคะหมายถึงการรวมเป็นหนึ่งเพื่อบรรลุการตระหนักรู้ในตนเองโดยไม่ต้องอาศัยความพยายามและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกๆ คน นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของจิตวิญญาณมนุษยชาติ ซึ่งคุณแม่ศรี มาตาจีได้มอบของขวัญนี้ให้กับมนุษยชาติเมื่อพลังกุณฑาลินีได้รับการปลุกให้ตื่นขึ้น และคงดำรงอยุ่ภายในมนุษย์เพื่อสร้างให้มนุษย์กลายเป็นหนึ่งเดียวกันกับพลังเริ่มแรก

ทักษะความคิดสร้างสรรค์

             ความ คิดสร้างสรรค์ คือ กระบวนการคิดของสมองซึ่งมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายและแปลกใหม่จากเดิม โดยสามารถนำไปประยุกต์ทฤษฎี หรือหลักการได้อย่างรอบคอบและมีความถูกต้อง จนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสิ่งประดิษฐ์ที่แปลกใหม่หรือรูปแบบความคิดใหม่ นอกจากลักษณะการคิดสร้างสรรค์ดังกล่าวนี้แล้ว ยังมีสามารถมองความคิดสร้างสรรค์ในหลาย ซึ่งอาจจะมองในแง่ที่เป็นกระบวนการคิดมากกว่าเนื้อหาการคิด โดยที่สามารถใช้ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในมิติที่กว้างขึ้น เช่นการมีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน การเรียน หรือกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ด้วย อย่างเช่น การทดลองทางวิทยาศาสตร์  หรือการเล่นกีฬาที่ต้อง สร้างสรรค์รูปแบบเกมให้หลากหลายไม่ซ้ำแบบเดิม เพื่อไม่ให้คู่ต่อสู่รู้ทัน เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะการคิดสร้างสรรค์ในเชิงวิชาการ แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะการคิดสร้างสรรค์ต่างๆ ที่กล่าวนั้นต่างก็อยู่บนพื้นฐานของความคิดสร้างสรรค์ โดยที่บุคคลสามารถเชื่อมโยงนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ดี ซึ่งหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้กำหนดมาตรฐานตัวชี้วัดด้านความคิดสร้างสรรค์ไว้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยีไว้หลายประการ  ซึ่งความคิดสร้างสรรค์ ควรจะประกอบไปด้วยประการ คือ
        1. สิ่งใหม่ (new, original) เป็นการคิดที่แหวกวงล้อมความคิดที่มีอยู่เดิม ที่ไม่เคยมีใครคิดได้มาก่อน ไม่ได้ลอกเลียนแบบใคร แม้กระทั่งความคิดเดิมๆ ของตนเอง
        2.ใช้การได้ (workable) เป็นความคิดที่เกิดจากการสร้างสรรค์ที่ลึกซึ้ง และสูงเกินกว่าการใช้เพียง "จินตนาการ เพ้อฝัน" คือ สามารถนำมาพัฒนาให้เป็นจริง และใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม และสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ ของการคิดได้เป็นอย่างดี
        3. มีความเหมาะสม เป็นความคิดที่สะท้อนความมีเหตุมีผล ที่เหมาะสม และมีคุณค่า ภายใต้มาตรฐานที่ยอมรับกันโดยทั่วไป
                  การที่คนเราจะมีความคิดสร้างสรรค์ ได้ตามลักษณะที่กล่าวมานั้น ขึ้นอยู่กับศักยภาพการทำงาน และการพัฒนาของสมอง ซึ่งสมองของคนเรามี 2 ซีก มีการทำงานที่แตกต่างกัน สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่ในส่วนของการตัดสินใจ การใช้เหตุผล สมองซีกขวา ทำหน้าที่ในส่วนของการสร้างสรรค์ แม้สมองจะทำงานต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สมองทั้งสองซีก จะทำงานเชื่อมโยงไปพร้อมกัน ในแทบทุกกิจกรรมทางการคิด โดยการคิดสลับกันไปมา อย่างเช่น การอ่านหนังสือ สมองซีกซ้ายจะทำความเข้าใจ โครงสร้างประโยค และไวยากรณ์ ขณะเดียวกัน สมองซีกขวาก็จะทำความเข้าใจ เกี่ยวกับลีลาการดำเนินเรื่อง อารมณ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อเขียน ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆ กัน ไม่สามารถแยกพัฒนาในแต่ละด้านได้ การค้นพบหน้าที่แตกต่างกันของสมองทั้งสองส่วน ช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากได้มากขึ้น
              ใน การพัฒนาสมองของผู้เรียน ให้ใช้ได้อย่างเต็มศักยภาพ ผ่านการจัดการเรียนการสอนนั้น ควรจัดอย่างสมดุล ให้มีการพัฒนาสมองทั้งสองซีกไปด้วยกัน ในเวลาเดียวกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสมดุลในการคิด และคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เอนเอียงไปใน
หลัก การเหตุผล มากเสียจนติดอยู่ในกรอบ ของความคิดแบบเดิม และไม่ใช่การคิดด้วยการใช้จินตนาการเพ้อฝันมากเกินไป จนไม่มีความสัมพันธ์กัน ระหว่างความฝัน กับความสมเหตุสมผล ซึ่งจะทำให้ไม่สมารถนำมาปฏิบัติให้เป็นจริงได้ ฉะนั้น จะเห็นได้ว่า การคิดสร้างสรรค์ จึงพึ่งพาทั้งสมองซีกซ้าย และขวาควบคู่กันไป

ทักษะความคิดวิเคราะห์วิจารณ์

            แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนากระบวนการคิดตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ครูผู้สอนสามารถออกแบบการสอนโดยใช้วิธีและเทคนิคการสอนกระบวนการคิดได้หลากหลายวิธีโดยคำนึงถึงกระบวนการคิดแต่ละวิธี เช่น กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ กระบวนการแก้ปัญหา กระบวนการคิดตัดสินใจ การบวนคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กระบวนการคิดไตร่ตรอง เป็นต้นทั้งนี้ผู้สอนสามารถเลือกใช้ กระบวนการคิด ที่เหมาะสมกับการเรียนรู้ นั้นๆ ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์จึงมี หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะเหตุและปัจจัยตามธรรมชาติของเนื้อหาสาระเหตุการณ์ วิธีการ ที่ครูผู้สอนสามารถเลือกใช้กระบวนการคิดที่มีความเหมาะสมในการจัดการเรียน การสอนดังกล่าวได้จึงขอเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาทักษะการ คิดวิเคราะห์ ดังนี้
          Gagne (อ้างใน ทิศนา แขมมณี และคณะ 2544 : 16) กล่าวถึง การเรียนรู้ที่เป็นทักษะทางปัญญาประกอบด้วย 4 ทักษะย่อยซึ่งแต่ละระดับเป็นพื้นฐานของกันและกันตามลำดับซึ่งเป็นพื้นฐานของ การเรียนรู้ที่เป็นการเชื่อมโยงสิ่งเร้ากับการตอบสนองและความต่อเนื่องของ การเรียนรู้ต่าง ๆ เป็นลูกโซ่ (association and chaining) ทักษะย่อยแต่ละระดับ ได้แก่
          1. การจำแนกแยกแยะ (discriminations) หมายถึง ความสามารถในการแยกแยะคุณสมบัติทางกายภาพของวัตถุต่าง ๆ ที่รับรู้เข้ามาว่าเหมือนหรือไม่เหมือนกัน
          2. การสร้างความคิดรวบยอด (concepts) หมายถึง ความสามารถในการจัดกลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ โดยระบุคุณสมบัติร่วมกันของวัตถุสิ่งนั้น ๆ ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ทำให้กลุ่มวัตถุหรือสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นต่างจากกลุ่มวัตถุหรือสิ่งอื่น ๆ แบ่งเป็น 2 ระดับย่อย ๆ คือ
          ก. ความคิดรวบยอดระดับรูปธรรม (concrete concepts)
          ข. ความคิดรวบยอดระดับนามธรรมที่กำหนดขึ้นในสังคมหรือวัฒนธรรมต่าง ๆ (defined concepts)
         3. การสร้างกฎ (rules) หมายถึง ความสามารถในการนำความคิดรวบยอดต่าง ๆ มารวมเป็นกลุ่ม ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ขึ้น เพื่อให้สามารถสรุปอ้างอิง และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
        4. การสร้างกระบวนการหรือกฎขั้นสูง (procedures of higher order rules) หมายถึง ความสามารถในการนำกฎหลาย ๆ ข้อที่สัมพันธ์กันมาประมวลเข้าด้วยกัน ซึ่งนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น
         ประเวศ วะสี (อ้างใน ทิศนา แขมมณี.2548 : 301-302) ได้กล่าวว่า ในการเรียนรู้ต้องให้นักเรียนได้มีโอกาสฝึกคิด ฝึกตั้งคำถาม เพราะคำถามเป็นเครื่องมือในการได้มาซึ่งความรู้ ควรให้ผู้เรียนฝึกการ ถาม-ตอบ ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความแจ่มแจ้งในเรื่องที่ศึกษารวมทั้งได้ฝึกการใช้เหตุผล การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ ที่ฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นหาคำตอบจากเรื่องที่เรียนได้
      การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย (Inductive Method)
               การจัดการเรียนรู้แบบอุปนัย คือ กระบวนการที่ผู้สอนจากรายละเอียดปลีกย่อยหรือจากส่วนย่อยไปหาส่วนใหญ่ หรือกฎเกณฑ์ หลักการ ข้อเท็จจริงหรือข้อสรุป โดยการนำเอาตัวอย่าง ข้อมูล เหตุการณ์ สถานการณ์ หรือปรากฏการณ์ที่มีหลักการแฝงอยู่มาให้ผู้เรียนศึกษาสังเกต ทดลอง เปรียบเทียบ หรือวิเคราะห์จนสามารถสรุปหลักการ หรือกฎเกณฑ์ได้ด้วยตนเอง  องค์ประกอบสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยมีดังนี้ คือ
           1. ตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เป็นลักษณะย่อย ๆ ของหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
          2. การวิเคราะห์ตัวอย่างข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ เพื่อสรุปเป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎีร่วมกัน
          3. การสรุปหลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่ได้จากการวิเคราะห์
       ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบอุปนัยสามารถสรุปเป็นขั้นตอน 5 ขั้นตอน ดังนี้
         1. ขั้นเตรียมการ
         2. ขั้นเสนอตัวอย่าง
         3. ขั้นเปรียบเทียบ
         4. ขั้นสรุปกฎเกณฑ์
         5. ขั้นนำไปใช้

องค์ประกอบของทักษะชีวิต

          องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของทักษะชีวิตไว้10องค์ประกอบ  จัดเป็น  3   ด้าน ดังนี้ องค์ ประกอบของทักษะชีวิตด้านพุทธิพิสัย (ทักษะด้านความคิด) หมายถึงการรู้จักใช้ เหตุ และ ผล โดยรู้สาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นผล ย่อมมาจาก เหตุเมื่ออยากให้ ผลของการกระทำออกมาดีเป็นที่พึงประสงค์แก่ทั้งของตนเองและส่วนรวมก็ควรคิด กระทำ เหตุที่จะทำให้เกิดผลที่ดีเพื่อจุดประสงค์ที่จะพัฒนาชีวิตให้มีความเจริญ ก้าวหน้าสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขในสังคมของมนุษย์ 
         1. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็น ความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิด สร้างสรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม                                                     
         2. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ(Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดออกไปอย่างกว้างขวาง โดยไม่ยึดติดอยู่ในกรอบ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านจิตพิสัย หรือ เจตคติ (ทักษะด้านจิตใจ) หมายถึง การฝึกฝนควบคุมนึกคิด ให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงใสสะอาดในความดีงามประกอบด้วยคุณธรรมต่าง ๆ เช่นความรัก ความมีเมตตา กรุณาความเป็นมิตร ความมีน้ำใจ ความมีสัมมาคารวะ ความรู้จักยอมรับ และ เห็นความสำคัญของผู้อื่นความกตัญญู ความเพียรพยายาม ความซื่อสัตย์สุจริต
        3.ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็นความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
       4. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็น ความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์ องค์ประกอบของทักษะชีวิตด้านทักษะพิสัย หรือทักษะสังคม  (ทักษะ ด้านการกระทำ) หมายถึง การฝึกฝนตนเองให้มีทักษะด้านวินัยให้ตนเองเพื่อควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้ เหมาะสมไม่เบียดเบียน ไม่สร้างความรำคาญ ไม่สร้างความเดือดร้อนไม่สร้างความลำบาก ให้แก่ตนเอง และ สังคมสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ด้วยดี เป็นประโยชน์ต่อสังคมเน้น ความสุจริตทางกายและวาจา
         5. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็น ความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้าน สุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
      6. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem solving) เป็น ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
        7.ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภา(Effectivecommunication) เป็น ความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ ฯลฯ
        8. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
        9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็น ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
       10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็น ความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกิดการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหา ด้านสุขภาพ

ความหมายของทักษะชีวิต

     ทักษะ(Skill  )  หมายถึง   ความชัดเจนและความชำนิชำนาญในเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งบุคคลสามารถสร้างขึ้น ได้จากการเรียนรู้ได้แก่ทักษะอาชีพ การกีฬาการทำงานร่วมกับผู้อื่น การอ่าน การสอน การจัดการ ทักษะทางคณิตศาสตร์ทักษะทางภาษาทักษะทางการใช้เทคโนโลยีฯลฯซึ่งเป็นทักษะภาย นอกที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนจากการกระทำหรือจากการปฏิบัติซึ่งทักษะดัง กล่าว นั้นเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่จะทำให้ผู้มีทักษะเหล่านั้นมี ชีวิตที่ดีสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้โดยมีโอกาสที่ดีกว่าผู้ไม่มีทักษะ(ประเสริฐตันสกุล) 

    ทักษะชีวิต (Lifeskill)  หมายถึง  คุณลักษณะหรือความสามารถเชิงสังคมจิตวิทยา (Phychosoclalcompetence) ที่เป็นทักษะภายในที่จะช่วยให้บุคคลสามารถเผชิญสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นใน ชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการดูแลสุขภาพเอดส์ ยาเสพติด ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม คุณธรรมจริยธรรมฯลฯเพื่อให้สามารถมีชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขหรือ จะกล่าวง่ายๆทักษะ ชีวิตก็คือความสามารถในการแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวันเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

  ทักษะชีวิต (LifeSkills)  เริ่มต้นการนำมาเผยแพร่โดยองค์การอนามัยโลกWHOโดย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนรู้จักดูแลตนเองทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ ซึ่งจะส่งผลให้คนมีสภาพการดำรงชีวิตที่มีความสุขและสามารถดำรงตนอยู่ในสังคม โดยไม่เป็นภาระของสังคมเพื่อให้สอดคล้องกับ     การปฏิบัติตนในการรักษาสุขภาพโดย เน้นความสำคัญของบุคคลให้รู้จักการปรับตัวพร้อมการเผชิญในการเปลี่ยนแปลงทาง สังคมดังนั้นองค์การอนามัยโลก(WHO)จึงให้ความหมายทักษะชีวิตเป็นความสามารถอันประกอบด้วยความรู้เจตคติและทักษะ ซึ่งสามารถจัดการกับปัญหารอบๆตัวให้อยู่รอดในสภาพสังคมและวัฒนธรรมยุค ปัจจุบันได้อย่างมีความสุขและเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคตาคำนิยามของทักษะชีวิต(LifeSkills)ของ องค์การอนามัยโลกเน้นความสำคัญในการดำรงตนของบุคคลที่มีความเหมาะสมและทัน กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งปัญหาของสังคมในยุคปัจจุบันมีความซ้ำซ้อนบาง ปัญหามีความรุนแรงดังที่ปรากฏในปัญหาเรื่องยาเสพติด โรคเอดส์ บทบาท ชายหญิงชีวิตครอบครัวสุขภาพอิทธิพลสื่อสิ่งแวดล้อมฯลฯซึ่งคำนิยามดังกล่าว ได้ชี้ให้เห็นแล้วว่าจะต้องมีการเรียนรู้ด้วยตนเองและรู้จักปรับตัวการฝึกฝน เป็นการเปิดโอกาสให้คนเกิดการพร้อมของตนเองและดำรงชีวิตได้อย่างมีความ สุขนอกจากคำนิยามทักษะชีวิตจากองค์การอนามัยโลก(WHO)ดัง ที่กล่าวแล้วในเวลาต่อมาได้มีการเผยแพร่การศึกษาเรื่องทักษะชีวิตไปยังหน่วย งานต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะองค์การช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF)ได้นำทักษะชีวิตไปใช้ในการป้องกันโรคเอดส์โดยให้ความสำคัญในการพัฒนาคนมิให้ติดเชื้อHIVด้วย เหตุนี้คำนิยามของทักษะชีวิตมีจุดเน้นความสำคัญทางด้านจิตวิทยาสังคมและความ สำคัญของบุคคลในด้านความสามารถในการปฏิบัติตนโดยอาศัยพื้นฐานทางด้านความคิด การตัดสินใจและการปฏิบัติตนที่เหมาะสมสอดคล้องกับวัฒนธรรมท้องถิ่นและสังคม โลกจะเห็นได้ว่าทักษะชีวิตได้ นำไปใช้เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมโลกทั้งนี้เพื่อการพัฒนาให้คน เกิดการพัฒนาตนเองโดยการใช้ความคิดการปรับตัวการตัดสินใจการสื่อสารการ จัดการกับอารมณ์และความเครียดในการแก้ไขปัญหาให้กับตนเองได้อย่างฉลาดด้วย เหตุนี้ทักษะชีวิตจึงประกอบด้วยทักษะต่างๆที่ส่งผลให้คนฉลาดรู้เลือกและ ปฏิบัติรวมทั้งการรู้จักยับยั้งชั่งใจบุคคลที่มีทักษะชีวิตจะเป็นคนที่มี เหตุผลรู้จักเลือกการดำรงชีวิตที่เหมาะสมสังคมบุคคลที่มีทักษะชีวิตจะสสังคม เป็นสังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน

ทักษะชีวิต

           1. ทักษะการตัดสินใจ (Decision making) เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีระบบ เช่น ถ้าบุคคลสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับการกระทำของตน เองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมด้านสุขภาพ หรือความปลอดภัยในชีวิต โดยประเมินทางเลือกและผลที่ได้จากการตัดสินใจเลือกทางที่ถูกต้องเหมาะสม ก็จะมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
          2. ทักษะการแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็น ความสามารถในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตได้อย่างมีระบบ ไม่เกิดความเครียดทางกายและจิตใจ จนอาจลุกลามเป็นปัญหาใหญ่โตเกินแก้ไข
         3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) เป็น ความสามารถในการคิดที่จะเป็นส่วนช่วยตัดสินใจและแก้ไขปัญหาโดยการคิดสร้าง สรรค์ เพื่อค้นหาทางเลือกต่าง ๆ รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นในแต่ละทางเลือก และสามารถนำประสบการณ์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
        4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical thinking) เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ และประเมินปัญหา หรือสถานการณ์ที่อยู่รอบตัวเราที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
        5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective communication) เป็น ความสามารถในการใช้คำพูดและท่าทางเพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดของตนเอง ได้อย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความคิดเห็น การแสดงความต้องการ การแสดงความชื่นชม การขอร้อง การเจรจาต่อรอง การตักเตือน การช่วยเหลือ การปฏิเสธ
        6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล (Interpersonal relationship) เป็นความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันและกัน และสามารถรักษาสัมพันธภาพไว้ได้ยืนยาว
        7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน (Self awareness) เป็น ความสามารถในการค้นหารู้จักและเข้าใจตนเอง เช่น รู้ข้อดี ข้อเสียของตนเอง รู้ความต้องการ และสิ่งที่ไม่ต้องการของตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ตัวเองเวลาเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ต่าง ๆ และทักษะนี้ยังเป็นพื้นฐานของการพัฒนาทักษะอื่น ๆ เช่น การสื่อสาร การสร้างสัมพันธภาพ การตัดสินใจ ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น                     
         8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น (Empathy) เป็น ความสามารถในการเข้าใจความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างบุคคล ในด้านความสามารถ เพศ วัย ระดับการศึกษา ศาสนา ความเชื่อ สีผิว อาชีพ ฯลฯ ช่วยให้สามารถยอมรับบุคคลอื่นที่ต่างจากเรา เกิดการช่วยเหลือบุคคลอื่นที่ด้อยกว่า หรือได้รับความเดือดร้อน เช่น ผู้ติดยาเสพติด ผู้ติดเชื้อเอดส์
       9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์ (Coping with emotion) เป็น ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม
     10. ทักษะการจัดการกับความเครียด (Coping with stress) เป็น ความสามารถในการรับรู้ถึงสาเหตุของความเครียด รู้วิธีผ่อนคลายความเครียด และแนวทางในการควบคุมระดับความเครียด เพื่อให้เกินการเบี่ยงเบนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องเหมาะสมและไม่เกิดปัญหา ด้านสุขภาพ